วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2551

ศิลปะกับธรรมชาติ

ความของธรรมชาติและศิลปะ
ธรรมชาติ (Natural) หมายถึง สิ่งที่ปรากฏให้เห็นตามวัฏจักรของระบบสุริยะ โดยที่มนุษย์มิได้เป็นผู้สรรค์สร้างขึ้น เช่น กลางวัน กลางคืน เดือนมืด คืนเดือนเพ็ญ ภูเขา น้ำตก ถือว่าเป็นธรรมชาติ หรือปรากฏการณ์ทางธรรมชาติความหมายของศิลปะศิลป(Art) ตามความหมายทางพจนานุกรมและนักปราชญ์ทางศิลปได้ให้ความหมายอย่างกว้างขวางตามแนวทางหรือทัศนะส่วนตัวไว้ดังนี้ คือ ศิลปะ(ART) คำนี้ ตามแนวสากล มาจากคำว่า ARTI และ ARTE ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กันในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา คำว่า ARTI นั้น หมายถึง กลุ่มช่างฝีมือในศตวรรษที่ 14, 15 และ 16 ส่วนคำว่า ARTE หมายถึง ฝีมือ ซึ่งรวมถึง ความรู้ของการใช้วัสดุของศิลปินด้วย เช่น การผสมสีสำหรับลงพื้น การเขียนภาพสีน้ำมัน หรือการเตรียม และการใช้วัสดุอื่นอีกศิลปะ ตามความหมายของพจนานุกรมไทย ฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2493 ได้อธิบายไว้ว่าศิลป (สิน ละ ปะ) น. หมายถึง ฝีมือ ฝีมือทางการช่าง การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นได้อย่างน่าพึงชม และเกิดอารมณ์สะเทือนใจศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ให้ความหมายของศิลปไว้ว่า ศิลป หมายถึง งานที่ต้องใช้ความพยายามด้วยฝีมือและความคิด เช่น ตัดเสื้อ สร้างเครื่องเรือน ปลูกต้นไม้ เป็นต้น และเมื่อกล่าวถึง งานทางวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) หมายถึงงานอันเป็นความพากเพียรของมนุษย์ นอกจากต้องใช้ความพยายามด้วยมือ ด้วยความคิด แล้วต้องมีการพวยพุ่งแห่งพุทธิปัญญาและจิตออกมาด้วย (INTELLECTURL AND SPIRITUAL EMANATION)ศิลปะ ตามความหมายของพจนากรุกรมศัพท์ศิลปะ อังกฤษ ไทย ฉบับราชบัณฑิตสถาน พ.ศ.2530 ได้อธิบายไว้ว่า “ART ศิลปะ คือ ผลแห่งความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่แสดงออกในรูปลักษณ์ต่างๆ ให้ปรากฏซึ่งสุนทรียภาพ ความประทับใจ หรือความสะเทือนอารมณ์ตามอัจฉริยภาพ พุทธิปัญญา ประสบการณ์ รสนิยมและทักษะของแต่ละคน เพื่อความพอใจ ความรื่นรมย์ ขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี หรือความเชื่อในลัทธิศาสนา”

เลโอ ตอลสตอย (LEO TOLSTOI)
นักประพันธ์ชาวรัสเซียได้ให้นิยามไว้ว่า ศิลปะเป็นวิธีสื่อสารวิธีหนึ่ง ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน เราใช้คำพูดสำหรับสื่อความคิด แต่ใช้ศิลปะสำหรับสื่อสารความรู้สึก “ART IS ONE OF THE MANS OF INTERCOURSE BETWEEN MAN AND MAN ; WHEREAS BY WORDS A MAN TRANSMITE HIS THAUGHT TO ANOTHER BY MANS OF ART HE TRANSMITS HIS FEELING” ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า ศิลปะ คือ การถ่ายทอดความรู้สึกนั่นเอง

เฮอร์เบิต รีด (HERBERT READ)
นักวิจารณ์ศิลปะและวรรณคดี ชาวอังกฤษได้ให้ความหมายของศิลปะว่า ศิลปะ คือ การแสดงออกโดยยึดหลักว่าอารมณ์และความรู้สึกเป็นสิ่งผลักดันให้เกิดการแสดงออกมาเสมอจากทัศนะของนักปราชญ์ทางศิลปะหลายๆ ท่านที่ได้ให้นิยามไว้พอจะสรุปได้ว่า ศิลปะเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมา โดยภาวะของความต้องการของจิตใจเป็นเบื้องต้น ที่ศิลปินได้กลั่นกรองความรู้สึกและอารมณ์ที่เกิดขึ้นถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นรูปธรรม ซึ่งผู้ดูอาจเกิดความรู้สึกคล้อยตาม หรือไม่เห็นด้วยก็ได้ สุดแล้วแต่ประสบการณ์ หรือวิจารณญานของแต่ละบุคคล ที่จะพิจารณาเข้าใจในคุณค่าของความงามจนกระทั่งเกิดความรู้สึกซาบซึ้งถึงผลงานศิลปะนั้นๆ ได้ดังนั้น เราจะเห็นได้ว่า ความต้องการทางจิตใจมีบทบาทสำคัญเท่าเทียมกับความต้องการทางกาย ซึ่งจะเห็นได้จากสภาวะของสังคมกำลังจะเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมอุตสาหกรรม ประชาชนส่วนใหญ่จึงให้ความสำคัญกับปัจจัยทางกาย (body) มากกว่าความสำคัญของจิตใจ (mind) มนุษย์ต่างก็แสวงหาความสุขมาสู่ตัวเอง โดยการดิ้นรนและต่อสู้ด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งปัจจัย 4 อันเป็นพื้นฐานของความต้องการของมนุษย์ สังคมจึงเกิดการสับสนการพัฒนาจึงล้าหลังอาชญากรรมแห่งการดิ้นรน เพื่อความอยู่รอดของชีวิตจึงเกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ตลอดจนสถิติของมนุษย์ใจบาปจึงเพิ่มขึ้นโดยมิหยุดหย่อน ศิลปะนั้นเป็นอาหารทางจิตหากได้มีการพัฒนาควบคู่ไปกับความสำคัญอันเป็นปัจจัยของความต้องการทางกายแล้วเชื่อแน่ว่า สันติสุขก็คงจะเกิดขึ้นในมวลมนุษย์ทุกเผ่าพันธุ์ นั่นคือ เหตุผลหนึ่งของศิลปะซึ่งเป็นที่รวมความจริง ความดี ความงามไว้ในแก่นแท้ไว้ให้มนุษย์ได้ผ่อนคลาย ยึดเหนี่ยวและเกิดความสะดวกสบาย ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยเสริมสุขภาพจิตให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆ ดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้ย่อมจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจากหน่วยงานของรัฐและเอกชน ตลอดจนผู้ปกครอง บุคลากรในโรงเรียน ครูอาจารย์ที่ทำการสอนวิชา ศิลปะ หรือวิชาต่างๆ ช่วยปลูกฝังให้กับยุวชนและเยาวชน ตลอดจนบรรดาศิลปินของชาติที่มีหน้าที่สร้างสรรค์ศิลปะซึ่งได้ชื่อว่า เป็นผู้สร้างความดีงาม ประดับโลกโดยผ่านสมองอันปรีชาญาน อันก่อกำเนิดจาก ศีล สมาธิ ปัญญา สร้างสรรค์และเผยแพร่สู่สาธารณชนโดยสม่ำเสมอ จะเป็นผลพวงแห่งการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้กับประเทศชาติเป็นไปอย่างรวดเร็ว
องค์ประกอบที่สำคัญในงานศิลปะ
1. รูปแบบ (FORM) ในงานศิลปะ หมายถึง รูปร่างลักษณะที่ศิลปินถ่ายทอดออกมาให้ปรากฏเป็นรูปธรรมในงานศิลปะ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ1.1 รูปแบบธรรมชาติ (NATURAL FORM) ได้แก่ น้ำตก ภูผา ต้นไม้ ลำธาร กลางวัน กลางคืน ท้องฟ้า ทะเล เป็นต้น1.2 รูปแบบเรขาคณิต (GEOMETRIC FORM) ได้แก่ สี่เหลี่ยม สามเหลี่ยม วงกลม ทรงกระบอก เป็นต้น1.3 รูปแบบนามธรรม (ABSTRACT FORM) ได้แก่ รูปแบบที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ขึ้นมาเอง โดยอิสระ หรืออาจตัดทอน (DISTROTION) ธรรมชาติ ให้เหลือเป็นเพียงสัญลักษณ์ (SYMBOL) ที่สื่อความหมายเฉพาะตัวของศิลปินซึ่งรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น ศิลปินสามารถที่จะเลือกสรรค์นำมาสร้างเป็นงานศิลปะ ตามความรู้สึกที่ประทับใจหรือพึงพอใจในส่วนตัวของศิลปิน2. เนื้อหา (CONTENT) หมายถึง การสะท้อนเรื่องราวลงไปในรูปแบบดังกล่าว เช่น กลางวัน กลางคืน ความรัก การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การเมือง และคุณค่าทางการจัดองค์ประกอบทางศิลปะ เป็นต้น3. เทคนิค (TECHNIQUE) หมายถึง ขบวนการเลือกสรรค์วัสดุ ตลอดจนวิธีการสร้างสรรค์ นำมาสร้างศิลปะชิ้นนั้นๆ เช่น สีน้ำมัน สีชอล์ก สีน้ำ ในงานจิตรกรรม หรือไม้ เหล็ก หิน ในงานประติมากรรมเป็นต้น 4. สุนทรียศาสตร์(AESTHETICAL ELEMENTS) ชึ่งมี 3 อย่าง คือ ความงาม (BEAUTY) ความแปลกหูแปลกตา (PICTURESQUENESS) และความน่าทึ่ง (SUBLIMITY)ซึ่งศิลปกรรมชิ้นหนึ่งอาจมีทั้งความงามและความน่าทึ่งผสมกันก็ได้ เช่น พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย อาจมีทั้งความงามและความน่าทึ่งรวมอยู่ด้วยกัน เป็นต้นการที่คนใดคนหนึ่งมีสุนทรีย์ธาตุในความสำนึก เรียกว่า มีประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์ (AESTHETHICAL EXPERIENCE) ซึ่งจะต้องอาศัยการเพาะบ่มทั้งในด้านทฤษฎี ตลอดจนการให้ความสนใจเอาใจใส่รับรู้ต่อการเคลื่อนไหวของวงการศิลปะโดยสม่ำเสมอเช่น การชมนิทรรศการที่จัดขึ้นในหอศิลป เป็นต้นเมื่อกล่าวถึง งานศิลปกรรมและองค์ประกอบ ที่สำคัญในงานศิลปะแล้วหากจะย้อนรอยจากความเป็นมาในอดีตจนถึงปัจจุบันแล้ว พอจะแยกประเภทการสร้างสรรค์ของศิลปินออกได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้1. กลุ่มที่ยึดรูปธรรม (REALISTIC) หมายถึง กลุ่มที่ยึดรูปแบบที่เป็นจริงในธรรมชาติมาเป็นหลักในการสร้างงานศิลปะ สร้างสรรค์ออกมาให้มีลักษณะคล้ายกับกล้องถ่ายภาพ หรือตัดทอนบางสิ่งออกเพียงเล็กน้อย ซึ่งกลุ่มนี้ได้พยายามแก้ปัญหาให้กับผู้ดูที่ไม่มีประสบการณ์ทางศิลปะ และสามารถสื่อความหมายระหว่างศิลปะกับผู้ดูได้ง่ายกว่าการสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะอื่นๆ2. กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่ยึดแนวทางการสร้างงานที่ตรงข้ามกับกลุ่มรูปธรรม ซึ่งศิลปินกลุ่มนี้มุ่งที่จะสร้างรูปทรง (FORM) ขึ้นมาใหม่โดยที่ไม่อาศัยรูปทรงทางธรรมชาติ หรือหากนำธรรมชาติมาเป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ก็จะใช้วิธีลดตัดทอน (DISTORTION) จนในที่สุดจะเหลือแต่โครงสร้างที่เป็นเพียงสัญญาลักษณ์ และเช่นงานศิลปะของ มอนเดียน (MONDIAN)3. กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT) เป็นกลุ่มอยู่กึ่งกลางระหว่างกลุ่มรูปธรรม (REALISTIC) และกลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) หมายถึง กลุ่มที่สร้างงานทางศิลปะโดยใช้วิธีลดตัดทอน (DISTORTION) รายละเอียดที่มีในธรรมชาติให้ปรากฏออกมาเป็นรูปแบบทางศิลปะ เพื่อผลทางองค์ประกอบ (COMPOSITION) หรือผลของการแสดงออก แต่ยังมีโครงสร้างอันบ่งบอกถึงที่มาแต่ไม่ชัดเจน ซึ่งเป็นผลที่ผู้เขียนได้กล่าวนำในเบื้องต้นจากการแบ่งกลุ่มการสร้างสรรค์ของศิลปินทั้ง 3 กลุ่ม ที่กล่าวมาแล้วนั้น มีนักวิชาการทางศิลปะได้เปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจ คือ กลุ่มรูปธรรม (REALISTIC) เปรียบเสมือนการคัดลายมือแบบตัวบรรจง กลุ่มนามธรรม (ABSTRACT) เปรียบเสมือนลายเซ็น กลุ่มกึ่งนามธรรม (SEMI-ABSTRACT) เปรียบเสมือนลายมือหวัด
มนุษย์กับศิลปะ
หากกล่าวถึงผลงานศิลปะทำไมจะต้องกล่าวถึงแต่เพียงสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นมาเท่านั้น จอมปลวกรังผึ้งหรือรังนกกระจาบ ก็น่าที่จะเป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเยี่ยม ที่เกิดจากสัตว์ต่างๆ เหล่านั้น หากเราจะมาทำความเข้าใจ ถึงที่มาของการสร้างก็พอจะแยกออกได้เป็น 2 ประเด็นประเด็นที่ 1 ทำไมจอมปลวก รังผึ้ง หรือรังนกกระจาบ สร้างขึ้นมาจึงไม่เรียกว่างานศิลปะประเด็นที่ 2 ทำไมสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาถึงเรียกว่า เป็น ศิลปะ จากประเด็นที่ 1 เราพอจะสามารถวิเคราะห์ถึงสาเหตุที่เราไม่เรียกว่า เป็นผลงานศิลปะเพราะปลวก ผึ้ง และนกกระจาบสร้างรัง หรือจอมปลวกขึ้นมาด้วยเหตุผลของสัญชาตญานที่ต้องการความปลอดภัย ซึ่งมีอยู่ในตัวของสัตว์ทุกชนิด ที่จำเป็นต้องสร้างขึ้นมาเพื่อป้องกันภัยจากสัตว์ร้ายต่างๆ ตลอดจนภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตก แดดออก เป็นต้น หรืออาจต้องการความอบอุ่น ส่วนเหตุผลอีกประการหนึ่ง คือ จอมปลวก รังผึ้ง หรือรังนกกระจาบนั้น ไม่มีการพัฒนาในเรื่องรูปแบบ ไม่มีการสร้างสรรค์ให้ปรากฏรูปลักษณ์แปลกใหม่ขึ้นมายังคงเป็นอยู่แบบเดิมและตลอดไป จึงไม่เรียกว่า เป็นผลงานศิลปะ แต่ในทางปัจจุบัน หากมนุษย์นำรังนกกระจาบหรือรังผึ้งมาจัดวางเพื่อประกอบกับแนวคิดสร้างสรรค์เฉพาะตน เราก็อาจจัดได้ว่า เป็นงานศิลปะ เพราะเกิดแรงจูงใจภายในของศิลปิน (Intrinsic Value) ที่เห็นคุณค่าของความงามตามธรรมชาตินำมาเป็นสื่อในการสร้างสรรค์
ประเด็นที่ 2 ทำไมสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาถึงเรียกว่า ศิลปะ หากกล่าวถึงประเด็นนี้ ก็มีเหตุผลอยู่หลายประการซึ่งพอจะกล่าวถึงพอสังเขป ดังนี้...1. มนุษย์สร้างงานศิลปะขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์หรือจุดมุ่งหมายในการสร้าง เช่น- ชาวอียิปต์ (EGYPT) สร้างมาสตาบ้า (MASTABA) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายม้าหินสำหรับนั่งเป็นรูปสี่เหลี่ยมแท่งสูงข้างบนเป็นพื้นที่ราบ มุมทั้งสี่เอียงลาดมาที่ฐานเล็กน้อย มาสตาบ้าสร้างด้วยหินขนาดใหญ่ เป็นที่ฝังศพขุนนาง หรือผู้ร่ำรวยซึ่งต่อมาพัฒนามาเป็นการสร้างพีระมิด (PYRAMID) เพื่อบรรจุศพของกษัตริย์หรือฟาโรห์ (PHARAOH) มีการอาบน้ำยาศพหรือรักษาศพไม่ให้เน่าเปื่อยโดยทำเป็นมัมมี่ (MUMMY) บรรจุไว้ภายใน เพื่อรอวิญญาณกลับคืนสู่ร่าง ตามความเชื่อเรื่องการเกิดใหม่ของชาวอียิปต์การก่อสร้างพุทธสถานเช่น สร้างวัด สร้างพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ในพุทธศาสนา มีจุดประสงค์ เพื่อใช้เป็นที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อเป็นที่พำนักของสงฆ์ ตลอดจนใช้เป็นที่เผยแพร่ศาสนา
...2. มีการสร้างเพื่อพัฒนารูปแบบโดยไม่สิ้นสุด จะเห็นได้จาก มนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (PRE HISTORICAL PERIOD) ได้หลบภัยธรรมชาติ ตลอดจนสัตว์ร้ายเข้าไปอาศัยอยู่ในถ้ำ เมื่อมีความเข้าใจในปรากฏการณ์ อันเกิดขึ้นจากธรรมชาติและประดิษฐ์เครื่องมือ เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยจนในสมัยต่อมา มีการพัฒนาการสร้างรูปแบบอาคารบ้านเรือนในรูปแบบต่างๆ ตามความเปลี่ยนแปลงของวัฒนธรรม และความเจริญทางเทคโนโลยีมีการใช้คอนกรีตเสริมเหล็กและวัสดุสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน และสิ่งก่อสร้างต่างๆ ตลอดจนมีการพัฒนารูปแบบทางสถาปัตยกรรมให้กลมกลืนกับธรรมชาติแวดล้อม เช่น สถาปัตยกรรม “THE KAUF MANN HOUSE” ของแฟรงค์ ลอยด์ ไรท์ ที่รัฐเพนซิลวาเนีย สหรัฐอเมริกา


..3. มีการศึกษา ค้นคว้า วิจัยและเผยแพร่อย่างต่อเนื่องจนเป็นผลที่ก่อให้เกิด วัสดุ วิธีการ ตลอดจนทดลองเทคนิคใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่เสมอ เช่น งานจิตรกรรมมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย มีการบันทึกเป็นภาพ เขียนลงนผนังถ้ำ (CAVE PAINTING) อัลตามิรา (ALTAMIRE) เมืองซานทานเดอร์ ทางภาคเหนือของสเปนและถ้ำลาสโคช์ (LASCAUX) ประเทศฝรั่งเศสเขียนเป็นภาพสัตว์ซึ่งเป็นความเชื่อในลัทธิวิญญานนิยม (ANIMISM) เป็นการทำพิธิกรรมอันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตัวเองและหมู่คณะว่า ถ้าออกไปล่าจะประสบโชคดีได้สัตว์กลับมาเป็นอาหาร เป็นการข่มวิญญาณร้ายหรือตัดไม้ข่มหนาม สีที่นำมาใช้ส่วนใหญ่เป็นสีที่ได้จากดินสีต่างๆ เช่น ดินสีแดง ดินสีน้ำตาล ดินสีเหลือง สีดำ ซึ่งนำมาจากเขม่าหรือผงถ่านใช้ผสมกับยางไม้ ไขสัตว์ วิธีเขียนให้พ่นหรือทาโดยระบายเป็นแบบแบนๆ ซึ่งให้อิทธิพลเชื่อมโยงมาสู่จิตรกรรมของชาวอียิปต์ กรีก และมีวิวัฒนาการมาสู่ศิลปะกรรม ลัทธิต่างๆ ตลอดจนศิลปสมัยใหม่ ปัจจุบันมีการคิดค้นเทคนิควิธีการต่าง ๆ เช่น ในการสร้างงานจิตรกรรม อาจใช้วิธีขุดขีด กระทุ่ง สลัด การนำวัสดุหลายๆ ชนิดมาประกอบกันสร้างเป็นงานจิตรกรรม ส่วนเทคนิคจากการใช้สีธรรมชาติก็เปลี่ยนมาเป็นการใช้สีสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์แทน ซึ่งมีทั้งบรรจุในกระป๋อง ในขวด เป็นหลอดสีซึ่งจะแห้งช้า แห้งเร็ว แล้วแต่คุณสมบัติ เฉพาะตัวของสีแต่ละชนิด ที่ได้ผ่านการศึกษาค้นคว้าและทดลองใช้มาแล้วทั้งสิ้น ดังนั้น การศึกษาค้นคว้าทดลอง จึงเป็นการสะดวกที่จะนำเทคนิคใหม่มาสร้างสรรค์ผลงาน ทั้งรูปแบบ เนื้อหา เทคนิควิธีการต่างๆ จึงมีผลทำให้งานทางศิลปะมีพัฒนาการที่แตกต่างไปจากอดีตโดยสิ้นเชิง


....4. มีความงามในสิ่งสร้างขึ้นไม่มีมนุษย์คนใดที่ปฏิเสธในเรื่องของความงาม (BEAUTY) ทั้ง 4 ข้อที่กล่าวมา ผู้เขียนหวังว่าคงทำความกระจ่างชัดสำหรับผู้อ่านได้ดี ตลอดจนเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับศิลปะ ซึ่งไม่สามารถที่จะแยกออกจากกันได้จะเห็นได้ว่าศิลปะนั้นจะผูกพันอยู่กับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนกระทั้งตาย นั่นคือ คุณค่าของความเป็นมนุษย์โดยแท้จริง
มนุษย์กับการสร้างสรรค์ (MAN AND CREATIVE)

ความต้องการทางกายภาพที่เป็นปฐมภูมิของมนุษย์ทุกเชื้อชาติและเผ่าพันธ์ เพื่อนำมาซึ่งความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน ดังจะเห็นได้จากเครื่องอุปโภค บริโภคตลอดจนเครื่องใช้ไม้สอยต่างๆ ซึ่งเป็นผลิตผลที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ทั้งสิ้นในทางศิลปะที่เช่นเดียวกับ ศิลปินจะไม่จำเจอยู่กับงานศิลปะที่มีรูปแบบเก่าๆ หรือสร้างงานรูปแบบเดิมซ้ำๆ กันแต่จะคิดค้นรูปแบบ เนื้อหา หรือเทคนิคที่แปลกใหม่ให้กับตัวเอง เพื่อพัฒนาการสร้างงานศิลปะรูปแบบเฉพาะตนอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อง่ายแก่การเข้าใจจึงขอให้ผู้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ในทางศิลปะเสียก่อน

การสร้างสรรค์ (CREATIVE)
หมายถึง การคิดค้นรูปทรงขึ้นมาใหม่ ซึ่งมาคิดค้นรูปทรงอาจเกิดจากแรงกระตุ้นทางธรรมชาติและแรงกระตุ้นภายใน ถ่ายทอดออกมาเป็นรูปธรรมโดยการเพิ่ม ลด ตัดทอน หรือแปรสภาพให้ตรงกับจินตนาการ หรือความรู้สึกส่วนตัว (INDIVIDUAL)ของผู้สร้าง ซึ่งสภาวะของการสร้างสรรค์ทางศิลปะอาจกระทำได้โดย1. กระทำโดยอัตตวิสัย (SUBJECTIVE) หมายถึง การถ่ายทอดจินตนาการ หรือความรู้สึกที่มาจากส่วนลึกของจิตใต้สำนึก (CONCIUS) ออกมาโดยมิได้อาศัยรูปทรงภายนอก เข้าไปมีอิทธิพลต่อการสร้างผลงานทางศิลปะ การสร้างสรรค์ลักษณะนี้จะยึดติดผู้สร้าง หรือศิลปิน (ARTIST) เป็นหลัก2. กระทำโดยภววิสัย (OBJECTIVE) หมายถึง การกระทำโดยวิธีตรงกันข้ามกับอัตตวิสัย กล่าวคือ ศิลปิน จะยึดรูปแบบภายนอกเป็นตัวกระตุ้นให้บันดาล เป็นผลงานทางศิลปะ เช่น ธรรมชาติ สภาวะแวดล้อมทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง เป็นต้น

องค์ประกอบของการสร้างงานทางศิลปะ
การสร้างงานทางศิลปะจะคำนึงถึงโครงสร้างใหญ่ๆ อยู่ 3 ประการคือ1. รูปแบบ รูปทรง (FORM)2. เนื้อหา (CONTENT)3 เทคนิค วิธีการ (TECHNIQUE)รูปแบบ รูปทรง (FORM)หมายถึง โครงสร้างทางวัตถุของงานศิลปะอันได้แก่ รูปร่างภายนอกและภายใน เช่น ในงานจิตรกรรม รูปแบบเกิดจากการผสานกันของ เส้น (LINE) น้ำหนัก (SHADE) ที่ว่าง (SPACE) พื้นผิว (TEXTURE) และสี (COLOUR) จึงก่อให้เกิดเป็นลักษณะ 3 มิติขึ้นมา โดยการผสมผสานดังกล่าว
เนื้อหา (CONTENT)หมายถึง ลักษณะทางจิต หรือทางนามธรรม (ABSTRACT) ของโครงสร้างหรือรูปทรงนั้นที่ศิลปินได้สร้างจินตนาการออกมา โดยจุดประสงค์ที่จะให้ผู้เสพคล้อยตามจินตนาการของตัวเอง หรือจินตนาการแปลกแยกออกไปตามเนื้อหาที่ศิลปินสะท้อนออกมาในงานศิลปะ
เทคนิค (TECHNIQUE)หมายถึง โครงสร้างทางวัสดุ การเลือกใช้วัสดุ หรือการคิดค้นวัสดุแปลกใหม่ในการสร้างผลงานศิลปะ เช่น เทคนิคในการสร้างงานจิตรกรรม ซึ่งได้แก่ การเขียนภาพสีน้ำ สีน้ำมัน สีฝุ่น สีอะครายลิค สีโปสเตอร์ เป็นต้น ประติมากรรม ได้แก่ เทคนิคการแกะสลัก การปั้น การหล่อ หรือเทคนิคในการสร้างงาน ภาพพิมพ์ เป็นต้น ดังนั้นส่วนสำคัญของโครงสร้างใหญ่ๆ ที่กล่าวมานั้นจะต้องประสานกลมกลืนกัน กล่าวคือ เทคนิคจะต้องเกื้อกูลแก่รูปแบบ รูปแบบจะต้องสร้างขึ้นตามความจำเป็นของเรื่องที่จะต้องการสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อให้อยู่ด้วยกันได้โดยไม่รู้สึกขัดตา
มนุษย์สร้างงานศิลปะเพื่ออะไร
ดังที่ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างในหัวข้อที่ผ่านมาว่า มนุษย์สร้างผลงานขึ้นมา โดยมีจุดมุ่งหมาย หรือมีวัตถุประสงค์ในการสร้างที่ชัดเจน เช่น สร้างเพื่อเคารพสักการะ เช่น พระพุทธรูป เทวรุปต่างๆ เป็นต้น การสร้าง มาสตาบ้า (MASTABA) พีระมิด (PYRAMID) ของชาวอียิปต์ (EGYPT) หรือตลอดจนการสร้างศาสนสถานในพุทธศาสนา เมื่อผลงานที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ที่เด่นชัดแล้ว เราสามารถที่จะวิเคราะห์ถึงวัตถุประสงค์ของการสร้างว่า มนุษย์มีจุดประสงค์ในการสร้าง เพื่อสนองตอบต่อความต้องการทางจิตใจหรือทางกาย อย่างไรซึ่งพอจะอธิบายได้ ดังนี้คือ1. มนุษย์สร้างงานศิลปะเพื่อสนองความเชื่อหรือความศรัทธาในศาสนาการก่อสร้าง สถูปเจดีย์ในพุทธศาสนา ซึ่งมีลักษณะอยู่ 4 ประการคือ1.1 พระธาตุเจดีย์ หมายถึง เจดีย์บรรจุอัฐิและอังคารธาตุพระพุทธเจ้า1.2 พระธรรมเจดีย์ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระธรรมคำสอน พระวินัย พระไตปิฏก1.3 บริโภคเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่บรรจุสิ่งของเครื่องใช้ เช่น บาตร จีวร ฯลฯ ของพระพุทธเจ้า1.4 อุเทสิกเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่สร้างขึ้นมาเพื่ออุทิศ หรือเพื่อระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นศาสดาของศาสนาพุทธ ซึ่งเจดีย์ประเภทนี้จะพบเห็น ในประเทศไทยเป็นส่วนมาก หรือชาวอินเดีย สร้างสิ่งมหัศจรรย์ของโลกโดยการขุดเจาะภูเขาทั้งลูก ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบขุดเจาะลึกเข้าไปแบ่งเป็นชั้นเป็นห้องแต่ละห้องก็ตกแต่ง ประดับประดา ด้วยประติมากรรมและแบ่งห้องไว้สำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ตามความเชื่อและศรัทธา เช่น ที่ถ้ำ ELLORA ประเทศอินเดีย

2. มนุษย์สร้างงานศิลปะขึ้นมาเพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น จะเห็นได้จากมนุษย์ยุคหินเก่า (OLD STONE AGE หรือ PALAEOLITHIC) มีชีวิตอยู่ด้วยการล่าสัตว์ หาปลา จึงมีการสร้างเครื่องมือหินขึ้นมาใช้ประโยชน์ในการล่าสัตว์ ชาวกรีกทำเครื่องปั้นดินเผา ไห ขวด แจกันและภาชนะต่างๆ เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น เหยือกสำหรับใส่เหล้าไวน์ เรียกว่า โออิโนเช (CERAMIC) (OINOCHOE OR WINE JUG), CYLIX เป็นถ้วยใหญ่สำหรับใส่เครื่องดื่ม (DRINKINGCUP) (HYDRIA) เป็นไหสำหรับใส่น้ำ (WATER JAR) เป็นต้นนอกจากนี้ในปัจจุบัจยังพบเห็นในรูปแบบของเครื่องใช้ภายในบ้าน เช่น เครื่องสุขภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ การสร้างสรรค์งานศิลปะที่เน้นประโยชน์เป็นสำคัญ ส่วนเรื่องของความงามมีบ้างเล็กน้อย บางที่เราเรียกศิลปะประเภทนี้ว่า คุณศิลป (FUNCTIONAL ART) หรือศิลปะที่มีประโยชน์ (USEFUL ART) 3. มนุษย์สร้างงานศิลปะเพื่อประดับตกแต่ง ความรักสวยรักงามกับมนุษย์เป็นสิ่งที่แยกกันไม่ออกดังจะเห็นได้จากการประดับเครื่องเพชร สร้อยข้อมือ แหวน นาฬิกา เป็นต้นการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะชิ้นใหญ่ๆ มนุษย์ก็อดไม่ได้ที่จะตกแต่งเพิ่มวิจิตรพิสดารในศิลปะชิ้นนั้นๆ เช่น ลาดรดน้ำบนตู้พระธรรม ช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง ฯลฯ ในการสร้างพระอุโบสถ งานประติมากรรมนูนสูงที่ใช้ตกแต่งศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ เช่น ที่ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง ปราสาทหินเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา และกู่เปลือยน้อย อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น เป็นต้นในประวัติศาสตร์สมัยอียิปต์ ได้บันทึกถึง การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาจิตกรรมไว้ว่า งานจิตรกรรมของชาวอียิปต์ เป็นจิตรกรรมตกแต่งในสุสานที่ฝังศพทั้งบนหีบและบนผนังต่างๆ แสดงเรื่องราวพิธีกรรมทางศาสนาความเป็นอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น การจับสัตว์ การเล่นดนตรี และการเต้นรำ เป็นต้น จากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมดนี้พอจะเป็นเหตุผลสนับสนุนในส่วนที่มนุษย์สร้างงานศิลปะเพื่อประดับตกแต่งได้เป็นอย่างดี4. มนุษย์สร้างสรรค์ศิลปะเพื่อความงามความบริสุทธิ์ที่ตนเองประทับใจ ซึ่งเหตุผลในข้อนี้เป็นเหตุผลเฉพาะตัวของผู้สร้างที่เกิดความประทับใจ พึงพอใจในความงามที่มีอยู่ภายในจิตใจหรือสิ่งรอบข้าง ซึ่งเอกชัย สุนทรพงศ์ กล่าวไว้ในหนังสือ ความงามสุนทรียศาสตร์สำหรับผู้ใฝ่รู้ว่า “ความงามก็คือ สิ่งที่สร้างความพึงพอใจความชอบให้แก่จิตใจนั่นเอง อะไรที่สร้างความพึงพอใจให้แก่จิตไม่ว่าจะผ่านผัสสะ หรือทวารใดทวารหนึ่งของอายตนะทั้งห้า (ตา หู จมูก ลิ้น กาย) เป็นที่เกิดความงามแก่จิตได้ทั้งสิ้น ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจ หรือความชอบนั้นจะคงอยู่ได้นานเท่าใด ถ้านานชั่วระยะหนึ่งก็เป็นความงานพื้นๆ ถ้านานชั่วนาตาปีก็เป็นความงามที่สูงส่ง”การสร้างสรรค์งานศิลปะ เพื่อสนองตอบในประเด็นนี้ เราจะพบเห็นในงานศิลปะประเภทวิจิตรศิลป์ (FINE ARTS) หรือ ศิลปบริสุทธิ์ (PURE ARTS) ซึ่งผู้เขียนจะได้กล่าว โดยละเอียดในบทต่อไป

5. มนุษย์สร้างงานศิลปะเพื่อสื่อสารความรู้สึกนึกคิด ซึ่งสอดคล้องกับนิยามศิลปะที่เลโอตอลสตอย (LEO TOLSTOI) นักประพันธ์ชาวรัสเซีย ให้ไว้ดังได้กล่าวมาแล้วในบทต้นๆศิลปะนอกจากจะสื่อความรู้สึกนึกคิดแล้วยังเป็นตัวชี้ให้เห็นถึง วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนวิถีชีวิตของมนุษย์ในยุคต่างๆ เช่น ภาพเขียนสีในยุคหินเก่าในประเทศสเปนและฝรั่งเศสที่ได้กล่าวมาแล้วนอกจากนี้ ยังพบเห็นในจิตรกรรมยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทยเรา เช่น ภาพเขียนสีในถ้ำศิลปะ ตำบลหน้าถ้า อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ภาพเขียนสีที่ผาแต้ม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ภาพเขียนสีที่เพิงหิน วัดพระพุทธบาทบัวบก บ้านติ้ว ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น ซึ่งภาพเหล่านี้ล้วนแต่เป็นฝีมือของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ของไทยที่ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิด เพื่อสื่อสารถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่สืบทอดมาสู่มนุษย์ยุคปัจจุบัน และเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาเปรียบเทียบถึงข้อแตกต่างของวัฒนธรรมแต่ละยุคสมัยจากอดีตจนถึงปัจจุบัน


เกณฑ์การพิจารณาถึงงานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
1 งานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์จะต้องแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียว ตลอดจนเป็นผลงานที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคน(Human )ไม่ได้เกิดจาการลอกเลียนแบบจากงานศิลปะของคนอื่น งานศิลปะที่ดีจะต้องมีแนวความคิดพื้นฐานที่เป็นแรงบันดาลใจภายใน หรือ แรงกระตุ้นที่เกิดจากความต้องการจากภายในของศิลปิน ( Intrinsic Valve) แม้ว่าในบางครั้งศิลปินจะแสดงออกมาในงาน ศิลปะที่ใช้สิ่งแวดล้อม หรือปัจจัยภายนอก( Extrinsic Valve) แต่โดยแท้จริงแล้วจะเกิดจากแรงบันดาลใจภายใน นั่นเอง.

2 งานศิลปะที่ดีจะต้องเปลี่ยนปลงอยู่เสมอ (Chang all the time ) งานที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของศิลปินจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ หมายถึงแนวความคิดจะต้องได้รับการพัฒนาตลอดจนงานศิลปะจะต้องไม่ซ้ำกับรูปแบบเดิมที่เคยมีมาก่อน ในบางครั้งศิลปินจะต้องกล้าที่จะวิพากย์วิจารณ์ เกี่ยวกับบริบท ( Con text)ที่อยู่รอบตัว เช่น การเปลี่ยนแปลง เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองการปกครอง วัฒนธรรม หรือ อื่นๆ ที่มีผลกระทบที่ทำให้ศิลปินเกิดแรงบันดาลใจ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นงานศิลปะเฉพาะคน เช่นงานของศิลปิน ประเทือง เอมเจริญ ในชุด 14 ตุลาคม และ 6 ตุลาคม จ่าง แซ่ตั้ง ถวัลย์ ดัชนี เป็นต้นโดยสรุปศิลปินจะต้องสร้างผลงานศิลปะที่เกิดจากบริบท (Contex) ที่ตั้งตัวเองสัมผัสและการเปลี่ยนแปลงไปตาม สิ่งแวดล้อม ที่เกิดขึ้นรอบๆศิลปิน
3 ผลงานศิลปะจะต้องไม่เกิดจากอุบัติเหตุของความคิด (Incident Idea ) หมายถึงงานศิลปะที่ดีและมีคุณค่าจะต้องเกิดจากแรงกระตุ้น ภายในที่ศิลปินต้องการแสดงออก มีการวิจัยทดลอง ปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์ ให้ได้ทั้งรูปแบบ เทคนิคและสุนทรียภาพ ในการสร้างสรรค์ อย่างลงตัว และสามารถอธิบายได้ตามกระบวนการวิธีคิด และการค้นคว้าทดลอง และสรุปผลตามขั้นตอนของความคิดอย่างมีระบบดังนั้น งานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์หากเป็นผลงานศิลปะ ที่มีคุณค่า จะเกิดหลังจากการศึกษาค้นคว้าวิจัย อย่างมีระบบ และขั้นตอนการสร้างสรรค์
4 งานศิลปะจะต้องสามารถแยกแยะหมวดหมู่ ลัทธิ และอธิบายตามหลักการและ เหตุผล ตามกลุ่ม หรือ ลัทธิต่างๆได้ตามหลักเกณฑ์ทางวิชาการ เช่น การแสดงออกในแนว อิมเพรสชั่นนิส (Impressionism) แบบนามธรรม(Abstraet) แบบเหนือจริง (Surrealism) แบบจัดวาง (Installation) แบบเหมือนจริง (Realistic) เป็นต้น
5 งานสร้างสรรค์ ด้านศิลปะที่ดีจะต้องสื่อความหมายให้คนตั้งแต่สองวัฒนธรรมขึ้นไปหากสื่อความหมายต่อคนได้เพียงระดับภูมิภาค ระดับชาติ ก็หมายถึงงานที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์นั้นๆ แค่เป็นเพียงงานระดับภูมิภาค และระดับชาติ เท่านั้น
6 งานสร้างสรรค์ด้านศิลปะที่ดีจะต้องไม่ทำลายจารีดประเพณี ตลอดจนวัฒนธรรมต่างๆ ของคนเชื้อชาติ และไม่กระทบกระเทียบ ถึงคนที่ อยู่ต่างวัฒนธรรม การพิจารณาผลงานศิลปะเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ที่กล่าวมาทั้ง 6 ประการนั้นพอเป็นแนวทางที่จะตัดสิน คุณค่าที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ หลักเกณฑ์ดังกล่าวในบางข้อ อาจไม่เหมาะสมกับบางวัฒนธรรมแต่ก็ถือได้ว่า เป็นมาตรฐานที่พอพิจารณาถึงค่าของผลงานที่เกิดจากแนวความคิด ของมนุษย์ อย่างมีหลักเกณฑ์

1 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เนื้อหาเกี่ยวกับศิลปะกะธรรมชาติมีแค่ย่อหน้าแรกใช่ไหมคะ? นอกนั้นองค์ประกอบ การสร้างงานศิลปะ ฯลฯ ... ขอบคุณนะคะนึกว่าจะหาไม่เจอซะแล้ว